ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี แสดงความยินดีและชื่นชมกับผลงานนวัตกรรม “GERMGurad Dual-Door sterilizer” หรือ “ตู้ฆ่าเชื้อโรคแบบ 2 ประตู” ของ ดร. ภูมิยศ พยัคฆวรรณ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.)ที่ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เข้าร่วมประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ในงาน “2024 Japan Design Idea and Invention Expo (JDIE 2024)” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2567
ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลเหรียญทอง “GOLD MODEL” จากสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาสิ่งประดิษฐ์โลก หรือ World invention intelllectual property associations (WIIPA) ผลงานชิ้นนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ในการฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับสิ่งของต่างๆ ก่อนที่ผู้รับของจะสัมผัสสิ่งของจากผู้ส่งของเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจจะปนเปื้อนมากับสิ่งของดังกล่าวไม่ให้แพร่ระบาดไปยังผู้รับของ โดยผู้ส่งของจะส่งสิ่งของทางประตูด้านผู้ส่ง ส่วนประตูด้านฝั่งตรงกันข้ามจะเป็นประตูด้านผู้รับของสำหรับเปิดเพื่อรับสิ่งของที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หลอดอัลตร้าไวโอตชนิด ซี (UV-C) ที่ติดตั้งอยู่ภายในตู้เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับสิ่งของดังกล่าวก่อนจะสัมผัสสิ่งของนั้น ซึ่งนวัตกรรมนี้จะช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากจากสัมผัสสิ่งของโดยการส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในโรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ บริษัท ห้างร้าน โรงเรียน ห้องสมุด หน่วยงานต่าง ๆ หรือ ตามบ้านเรือน ที่ต้องการฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับสิ่งของก่อนรับสิ่งของนั้น
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตมีความสามารถในการทำงานวิจัย พัฒนา ควบคุมในสาขาวิศวกรรม โดยบัณฑิตยังสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ช่วยส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเพื่อรองรับการเติบโต ของอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องโดยยกระดับความทันสมัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับบริบท ของไทยในอนาคต พร้อมทั้งการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคตอีกด้วย
#คณะวิศวกรรมศาสตร์
#มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
#Engineering #BTU
#JDIE2024
#https://learn-life.com/