วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ติดอาวุธชุดความคิดและทักษะ Digital Transformation มุ่งยกระดับวิศวกรชีวการแพทย์ เพื่อร่วมเปลี่ยน Volume Based Patient Care เป็น Value Based Healthcare ของประเทศไทย
รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยการสนับสนุนทุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการดำเนินการเปิดอบรมหลักสูตรแบบ Non Degree ทางด้านDigital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ จำนวน 2 รุ่น มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งสิ้นกว่า 80 คน
วัตถุประสงค์ของการจัดการอบรมหลักสูตรดังกล่าวเนื่องมาจาก Paradigm ทางด้านการแพทย์ของโลกได้เปลี่ยนจากแบบ Volume Based การแพทย์เชิงรักษาเป็นเชิง Value Based หรือการแพทย์เชิงป้องกัน หรือการดูแลสุขภาพให้กับประชาชนที่มุ่งพัฒนาในด้านของการเข้าถึงการดูรักษาสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ทันเวลา ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความเท่าเทียมและการให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่เรียกเป็นตัวย่อว่า “STEEEP” ทั้งนี้ เนื่องจากยุทธศาสตร์ของประเทศไทยมุ่งเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ดังนั้น เสาหลักของการการแพทย์ยุคใหม่ที่สำคัญนอกจากบุคลากรทางการแพทย์และยารักษาโรคแล้วก็คือ เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ซึ่งบุคลากรที่รับผิดชอบหลักก็คืออาชีพที่เรียกว่า “วิศวกรชีวการแพทย์ (Biomedical Engineers)”
ในฐานะที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นหนึ่งในฐานนะผู้ผลิตบุคลากรดังกล่าวได้มองเห็นว่าเพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำและบรรลุเป้าหมายในการดำเนินยุทธศาสตร์ การมุ่งเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพให้สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ใหม่ทางด้านการแพทย์นี้ จึงได้จัดอบรมหลักสูตรแบบ Non Degreeทางด้าน Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพขึ้น โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ประจำปีการศึกษา 2565 และต่อเนื่องถึงปีการศึกษา 2566 โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาที่สามารถเป็นแม่ไก่ออกไปขยายชุดองค์ความรู้และทักษะดังกล่าวได้จำนวนทั้งสิ้น 80 คน
“จากผลการดำเนินการของหลักสูตรทั้ง 2 รุ่น ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมทั้งในด้านผลการประเมินจากผู้เข้าร่วมอบรม ผลการประเมินจากองค์กรที่ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมรวมทั้งพบว่าผู้สำเร็จการอบรมส่วนหนึ่งสามารถใช้ชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และทักษะในการพัฒนางานจนมีความก้าวหน้าทั้งทางด้านผลการดำเนินงาน ตำแหน่งงานและค่าตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สำคัญที่สุดก็คือผลทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยที่ถือว่าวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และชุดทักษะ ทางด้านSmart Medical Devices และSmart Healthcare Technology ให้กับบุคลากรต้นแบบหรือแม่ไก่ให้กับประเทศไทยเพื่อไปขยายผลให้กับองค์กรและประเทสไทยต่อไปในอนาคต” คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวปิดท้าย
#https://learn-life.com/