ม.กรุงเทพธนบุรี จับมือ องค์กรเครือข่ายทางวิชาการ 11 สถาบัน จัดประชุมวิชาการ “การวิจัยและสร้างสรรค์เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลง” ผ่านระบบออนไลน์

 

มกธ.จับมือองค์กรเครือข่ายทางวิชาการภาครัฐและเอกชน 11 สถาบัน จัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด “การวิจัยและสร้างสรรค์เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลง” ผ่านระบบออนไลน์

ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) วางนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ทุกคณะพัฒนาผลงานวิชาการ งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือพัฒนางานนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมโดยรวม และถือเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยฯ จากนโยบายดังกล่าว มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีจึงจัดการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 11 ขึ้นตามแนวคิด “การวิจัยและสร้างสรรค์เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลง” (Research and Creativity to Keep Up with Changes) จัดขึ้นโดยสมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) ร่วมกับสมาคมเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยองค์กรเครือข่ายทางวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน 11 สถาบัน เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และเพิ่มทักษะเชิงแนวความคิดเกี่ยวกับการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยฯ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ

ในการนี้ รศ.ดร.ปัญญา รุ่งเรื่อง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ให้เกียรติกล่าวเปิดงานการประชุมวิชาการดังกล่าว โดยมี รศ.ดร.สถิตย์ นิยมญาติ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม และ ดร.ชัญญณัท กริ่มใจ รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิจัย กล่าวรายงานการจัดงานประชุมวิชาการฯ ในโอกาสดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้ รศ.อรวรรณ บรรจงศิลป นายกสมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) และ ดร.จำเนียร ชุณหโสภาค นายกสมาคมเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในฐานะประธานร่วมการจัดงานและผู้ทรงคุณวุฒิให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ด้วย

การจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสาขา ได้แก่ สาชาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและกายภาพ (Health and Physical Sciences) ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ใช้รูปแบบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ คณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นักศึกษาไทยและจีน รวมทั้งผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการดังกล่าวกว่า 400 คน ทั้งนี้มีคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยฯ ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย และสร้างสรรค์ในการประชุมดังกล่าวด้วย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566

 

#https://learn-life.com/

Next Post

มกธ.เสริมความเข้มแข็งทางวิชาการวิชาชีพ จับมือ “เดอะมอลล์กรุ๊ป” ลงนาม MOU ด้านการศึกษาทวิภาคี พร้อมผลิตบัณฑิตสู่ประชาคมอาเซียน

Fri May 12 , 2023
ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) มุ่งส่งเสริมการพัฒนาวิชาการในหลากหลายมิติ เพื่อให้คณาจารย์ และบุคลากรของเดอะมอลล์กรุ๊ปได้เข้าศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ทุกระดับของมหาวิทยาลัยฯ […]